เพชรบุรี ถนนสายเก่าแก่ของกรุงเทพ

เพชรบุรี ถนนสายเก่าแก่ของกรุงเทพ

https://lazudi.com/

ถนนเพชรบุรีเป็นถนนที่เก่าแก่และยังเป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ถนนเพชรบุรีช่วงตั้งแต่ทางแยกยมราชถึงทางแยกประตูน้ำเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลตัดขึ้นตั้งแต่ริมคลองขื่อหน้า ปลายถนนคอเสื้อ (ปัจจุบันคือถนนพิษณุโลก) ไปบรรจบถนนราชดำริ เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2448 โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยืมเงินพระคลังข้างที่มาทดลองทำการ ระหว่างดำเนินการตัดถนน เกิดปัญหาแนวถนนตัดผ่านหมู่บ้านของคนในบังคับต่างประเทศ 2-3 แห่ง จึงต้องเจรจากันเรื่องค่าที่ดิน รัฐบาลได้มอบหมายให้นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน เป็นผู้ดำเนินการเจรจา เมื่อสร้างเสร็จโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนประแจจีน ซึ่งเป็นชื่อลวดลายของเครื่องลายครามแบบจีนชนิดหนึ่ง ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประแจจีนเป็น ถนนเพชรบุรี ตามพระนามทรงกรมของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

ปี พ.ศ. 2505 ทางการได้เวนคืนตลาดเฉลิมลาภเก่าบริเวณสามแยกประตูน้ำ (ปัจจุบันคือสี่แยกประตูน้ำ) โดยตัดถนนต่อออกจากสามแยกประตูน้ำไปจรดซอยสุขุมวิท 71 โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2506 คนทั่วไปนิยมเรียกถนนเพชรบุรีช่วงนี้ว่า “ถนนเพชรบุรีตัดใหม่”

ปัจจุบัน ถนนเพชรบุรีมีระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตรเศษ เริ่มจากบริเวณถนนพิษณุโลกเขตดุสิต ผ่านเขตราชเทวี และเข้าเขตห้วยขวาง ข้ามเขตสวนหลวง และไปจบที่สี่แยกคลองตัน

ซึ่งถนนเพชรบุรีนี้ได้ตัดผ่านกับถนนอื่นอีกมากมายเช่น ถนนสวรรคโลก ถนนหลานหลวง ถนนพระรามที่ 6 ถนนบรรทัดทอง ถนนราชดำริ ถนนวิทยุ ถนนอโศก-ดินแดง และตัดจบที่ถนนรามคำแหง และถนนสุขุมวิท 77

จะเห็นได้ว่า ถนนเพชรบุรีตัดผ่านกับถนนสำคัญสายอื่นๆอีกเยอะ ทำให้เกิดทำเลที่ดีใจกลางเมือง เมื่อเกิดทำเลที่ดีแล้ว นักลงทุนเลยเลือกมาลงทุนที่นี่ ทำให้เกิดความเจริญเช่น 

1. ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ

  • มีห้างสรรพสินค้ามากมายผุดขึ้น เพื่อการค้าปลีก ค้าส่งกับชาวไทยเองและชาวต่างชาติ และยังมีอาคาร ตึกสูงมากมายให้เช่าเพื่อทำสำนักงาน ออฟฟิศเช่น ศูนย์การค้าประตูน้ำ แพลตตินั่มแฟชั่นมอลล์ หรือSHOW DC เป็นต้น

2. ความเจริญด้านการคมนาคม

  • เนื่องจากย่านเพชรบุรีเป็นทำเลทอง ใกล้แหล่งเศรษฐกิจ จึงมีการคมนาคมที่หลากหลายเอื้อต่อผู้สัญจรไปมามากขึ้น เช่น รถเมล์ เรือ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน ส่วนมากจะมีการโดยสารสาธารณะให้ครอบคลุม เพราะหลีกเลี่ยงปัญหารถติด

3. ความเจริญด้านอสังหาริมทรัพย์

  • เมื่อมีรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดินมาเปิดให้บริการ ที่ดินบริเวณนั้นจะเป็นทำเลที่ดี เดินทางสะดวก ประชากรผู้อยู่อาศัยก็จะเพิ่มขึ้น เกิดการแย่งชิงไปเป็นเจ้าของ บ้างเพื่อซื้อไว้การลงทุนค้าขาย บ้างซื้อไปทำการขายคอนโดมิเนียมในย่านเพชรบุรี และสิ่งนี้จะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยาย เพราะการซื้อขายคอนโดมิเนียมในย่านเพชรบุรีจะไม่หยุดนิ่ง นักลงทุนพร้อมซื้อที่ทำเลดีๆไว้เก็งกำไรในอนาคตแน่นอน

ถนนเพชรบุรีมีความสำคัญตั้งแต่อดีต และถูกพัฒนาต่อมาจนมีความสำคัญเหมือนในปัจจุบันนี้ ถ้ากำลังมองหาชีวิตดีๆ ลองหาป้ายขายคอนโดมิเนียมเพชรบุรี แล้วย้ายมาอยู่ที่ย่านนี้ เพื่อชีวิตที่ครบครัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://lazudi.com/ 

Delores Reed

Website: